สรุป 7 สาระสำคัญเรื่องสิทธิการรักษาพยาบาลของข้าราชการ

0
341
งานราชการ

การรับค่ารักษาพยาบาลเป็นหนึ่งในสวัสดิการที่ข้าราชการพึงได้รับ สำหรับใครที่กำลังตัดสินใจจะเข้าไปรับราชการและอยากรู้เรื่องสิทธิประโยชน์ตรงนี้มากขึ้น ในบทความนี้เราจะมาสรุปสาระสำคัญให้เข้าใจกันง่ายๆ

ข้าราชการจะได้รับสิทธิเรื่องค่ารักษาพยาบาลอย่างไรบ้าง?

1. ข้าราชการจะได้รับสิทธินี้ทันทีที่เข้ารับตำแหน่ง และจะหมดสิทธิเมื่อลาออก ถูกไล่ออก เสียชีวิต หรือเกษียณอายุราชการ

2. บิดา มารดา บุตร และคู่สมรสของข้าราชการเองก็จะได้รับสิทธิตรงนี้ด้วย โดยระยะเวลาการเกิดและหมดสิทธินั้นจะเป็นไปพร้อมกับตัวข้าราชการเอง

3. สำหรับบุตรของข้าราชการ จะได้รับสิทธิไม่เกิน 3 คน โดยต้องเป็นบัตรที่ถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ใช่บุตรนอกสมรส นอกจากนี้จะต้องไม่เป็นผู้บรรลุนิติภาวะ หรือหากบรรลุนิติภาวะแล้วก็ต้องเป็นบุคคลผู้ไร้ความสามารถที่จะดูแลตัวเองได้เท่านั้น

4. ข้าราชการ และ/หรือครอบครัวผู้มีสิทธิ ต้องมารายงานตัวเพื่อรับรองข้อมูลภายใน 1 เดือน

5. ถ้าเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลของรัฐ สามารถเบิกค่ารักษาได้เต็มจำนวนที่จ่ายไป แต่ถ้าเป็สถานพยาบาลเอกชนจะเบิกได้เฉพาะกรณีเร่งด่วนหรืออุบัติเหตุเท่านั้น

6. หากเป็นคนไข้ใน สามารถเบิกค่าเตียงสามัญและค่าอาหารได้วันละไม่เกิน 400 บาท นอกนั้นเบิกได้วันละไม่เกิน 1,000 บาท เป็นเวลา 13 วันเท่านั้น

7. สิทธิประโยชน์ยังครอบคลุมถึงการตรวจสุขภาพประจำปีด้วย โดยต้องเป็นสถานพยาบาลของทางราชการ สามารถเบิกได้ไม่เกิน 450 บาท(สำหรับผู้อายุไม่เกิน 35 ปี) และไม่เกิน 910 บาท(สำหรับผู้ที่อายุ 35 ปีขึ้นไป) ไม่สามารถเบิกจ่ายตรงได้ แต่ต้องสำรองจ่ายไปก่อนแล้วไปเบิกทีหลัง